ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

เหตุการณ์อันตรายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรที่หากเพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เลย ดังนั้นจึงมีกฎหมายควบคุมและดูแลความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักร ตามที่ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีการเข้ารับฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เพื่อให้ลูกจ้างมีความชำนาญและเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงด้วย

ปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญเพื่อความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักร

  • ฝึกอบรมก่อนเริ่มต้นใช้งานเครื่องจักร

หากต้องการความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร สิ่งสำคัญ คือคุณต้องเรียนรู้วิธีใช้งานเครื่องจักรอยู่ถูกต้องเสียก่อน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลจนก่อให้เกิดอันตรายและความเสี่ยงในการใช้งานเครื่องจักรแต่ละประเภทด้วย เนื่องจากเครื่องจักรแต่ละประเภทมีวิธีใช้งานที่แตกต่างกัน อีกทั้งปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกยังอาจส่งผลต่ออันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นทุกหน่วยงานจึงจำเป็นต้องมีการจัดฝึกอบรมก่อนเริ่มต้นใช้งานเครื่องจักรทุกครั้ง

  • เรียนรู้วิธีปฏิบัติเมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ไม่มีใครทราบว่าอุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรจะเกิดขึ้นตอนไหน พนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกคนจึงต้องเรียนรู้วิธีปฏิบัติเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ตลอดเวลา เรียนรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์แจ้งเตือนต่าง ๆ รวมถึงวิธีการใช้งานปุ่มปิดฉุกเฉิน Emergency Shut Off ปิดระบบใช้งานเครื่องจักรให้เป็น เพื่อเตรียมรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทุกท่านและผู้ที่อยู่ใกล้เคียง

  • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันและสวมใส่เครื่องป้องกันอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักร

ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติงานทุกคนต้องสวมใส่เครื่องป้องกันและอุปกรณ์เซฟตี้เพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรทุกครั้ง รวมถึงในสถานที่ทำงานต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรให้เรียบร้อย เช่น อุปกรณ์เครื่องป้องกันความร้อนและแสงที่แหล่งกำเนิด ติดป้ายเตือนอันตรายไว้ในจุดที่มองเห็นชัดเจน เครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและสารเคมีตกค้าง เป็นต้น

  • คุณภาพและสภาพความพร้อมของเครื่องจักร

ทั้งก่อนและหลังใช้งานเครื่องจักร พนักงานและเจ้าหน้าที่ จป ต้องมีการตรวจคุณภาพและสภาพความพร้อมของเครื่องจักรในทุกครั้ง หากเครื่องจักรใดที่มีสภาพไม่พร้อมใช้งาน ยังไม่ผ่านการซ่อมบำรุงและตรวจเช็กคุณภาพ ห้ามนำกลับมาใช้งานโดยเด็ดขาด รวมถึงห้ามพนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกคนใช้งานเครื่องจักรที่ยังไม่ผ่านการอบรม เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรและเสี่ยงถึงความปลอดภัยในการทำงานได้

อันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักร

  • อันตรายจากความร้อนและแสงไฟ

เครื่องจักรบางชนิดจะมีการปล่อยระบายความร้อน แสงเลเซอร์ และแสงยูวีออกมา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงนายจ้างควรติดป้ายแจ้งเตือนอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ป้องกันความร้อนและแสงที่แหล่งกำเนิดให้เรียบร้อย

  • อันตรายจากพลังงานตกค้างในเครื่องจักร

ใครหลายคนอาจหลงลืมพลังงานตกค้างในเครื่องจักร เมื่อปิดการใช้งานเครื่องจักรขนาดใหญ่แล้วอาจมีพลังงานตกค้างอยู่ จนอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรได้ ควรศึกษาการใช้งานเครื่องจักรแต่ละชนิดอย่างละเอียดและระมัดระวังเมื่อใช้งานเครื่องจักรเหล่านี้

  • อันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง

การใช้งานเครื่องจักรบางประเภทจำเป็นต้องมีการใช้งานพลังงานไฟฟ้า ควรหลีกเลี่ยงอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง จัดเก็บสายไฟและสายเคเบิ้ลให้เรียบร้อย ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและเครื่องจักร ปิดฝาครอบให้เรียบร้อย หากพบสายไฟหรือสายเคเบิ้ลชำรุด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานและช่างไฟเพื่อดำเนินการซ่อมบำรุงทันที

ความสำคัญของการมี จป ในองค์กร

อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรสามารถป้องกันได้ หากทุกองค์กรมี จป , จป เทคนิค , จป วิชาชีพ  หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคอยปฏิบัติหน้าที่และดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรอย่างใกล้ชิด เพราะ จป หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานจะจัดเตรียมแผนงานปฏิบัติใช้งานเครื่องจักรอยู่ถูกวิธี รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันและจัดเตรียมเครื่องป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องปฏิบัติงาน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานจะจัดทำรายงานศึกษาค้นหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุและวางแผนเพื่อเตรียมรับกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน เพื่อนำเสนอแก่นายจ้างให้จัดเตรียมความพร้อมต่อการทำงาน เพื่อที่พนักงานทุกคนจะได้รับความปลอดภัยในการทำงานมากที่สุด